บทที่ 1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์
คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
กกกกกกกกหมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
กกกกกกกกหมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
กกกกกกกธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
กกกกกกกกหมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
กกกกกกกกปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีร์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ
กกกกกกกก1.1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต ( Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง มีโครงสร้างได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer เป็นต้น
กกกกกกกก1.2 ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม ปัจจุบันซีพียูของเครื่องพีซี รู้จักในนามไมโครโปรเซสเซอร์ ( Micro Processor) หรือ Chip เช่นบริษัท Intel คือ Pentium หรือ Celelon ส่วนของบริษัท AMD คือ K6,K7(Athlon) เป็นต้น ไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูง และ ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย
กกกกกกกก1.3 หน่วยเก็บข้อมูล ( Storage ) ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
กกกกกกกกกกกกกกกก1.3.1 หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก ( Primary Storage หรือ Main Memory ) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไปซึ่งอาจแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ RAM ( Random Access Memory ) ที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ในขณะที่เปิดเครื่องอยู่ แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลใน RAM จะหายไป และ ROM ( Read Only Memory ) จะอ่านได้อย่างเดียว เช่น BIOS (Basic Input Output system) โปรแกรมฝังไว้ใช้ตอนสตาร์ตเครื่อง เพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงาน เป็นต้น
กกกกกกกกกกกกกกกก1.3.2 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage ) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดยซีพียู รวมทั้งเป็นที่เก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลด้วย ปัจจุบันรู้จักในนามฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) หรือแผ่นฟร็อปปีดิสก์ (Floppy Disk) ซึ่งเมื่อปิดเครื่องข้อมูลจะยังคงเก็บอยู่
กกกกกกกก1.4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต ( Output Unit ) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้ง 4 ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยบัส ( Bus )
2 ซอฟต์แวร์ ( Software )
ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
กกกกกกกก2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป โดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผล ของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
กกกกกกกกกกกกกกกก2.1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุม และติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่ง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ในการทำงาน แล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Unix Linux DOS และWindows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000 NT XP Vista ) เป็นต้น
กกกกกกกกกกกกกกกก2.1.2 ตัวแปลภาษา (Translator) จาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่ง เป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์ (Interpeter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน แล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งมี 2 แบบได้แก่ ภาษาแบบโครงสร้าง เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา(Java)ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น ภาษาแบบเชิงวัตถุ ( Visual หรือ Object Oriented Programming ) เช่น Visual Basic,Visual C หรือ Delphi เป็นต้น
กกกกกกกกกกกกกกกก2.1.3 ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility Program) คือซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้นโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรม Norton Winzip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น
กกกกกกกกกกกกกกกก2.1.4 ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setupและ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound , Driver Printer , Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น
กกกกกกกก2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
กกกกกกกกกกกกกกกก2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
กกกกกกกกกกกกกกกก2.2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงาน ซึ่งขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
3 บุคลากร ( Peopleware )
บุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรตามหน้าที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานได้ 6 ด้าน ดังนี้
กกกกกกกก3.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analyst and Designer : SA ) ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรม (Programmer) หรือปรับปรุงคุณภาพงานเดิม นักวิเคราะห์ระบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการเขียนโปรแกรม และควรจะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
กกกกกกกก3.2 โปรแกรมเมอร์ ( Programmer ) คือบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ(Software )หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
กกกกกกกก3.3 ผู้ใช้ ( User ) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือกำหนดความต้องการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
กกกกกกกก3.4 ผู้ปฏิบัติการ (Operator ) สำหรับระบบขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง จะต้องแจ้ง System Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเครื่อง (System Software) อีกทีหนึ่ง
กกกกกกกก3.5 ผู้บริหารฐานข้อมูล ( Database Administrator : DBA ) กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
กกกกกกกก3.6 ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก
4. ข้อมูลและสารสนเทศ
กกกกกกกก4.1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ตัวเลขตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ต่างๆ ทำความหมายแทนสิ่งเหล่านั้น เช่น
· คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน
· อายุของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
· ราคาขายของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
· คำตอบที่ผู้ถูกสำรวจตอบในแบบสอบถาม
กกกกกกกก4.2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หรือผ่านวิธีการที่ ได้กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำข้อสรุปไปใช้งานหรืออ้างอิง เช่น
· เกรดเฉลี่ยของวิชาภาษาไทยของนักเรียน
· อายุเฉลี่ยของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
· ราคาขายสูงสุดของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
· ข้อสรุปจากการสำรวจคำตอบในแบบสอบถาม
5. กระบวนการทำงาน ( Procedure )
องค์ประกอบด้านนี้หมายถึงกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีคู่มือปฏิบัติงาน เช่น คู่มือผู้ใช้ ( user manual ) หรือคู่มือผู้ดูแลระบบ ( operation manual ) เป็นต้น
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
โดยทั่วไปที่เราพบเห็นกันในปัจจุบัน จะมีคุณสมบัติที่เป็นพื้นฐาน ซึ่งพอจะแบ่งออกได้ดังนี้
กกกกกกกกความเป็นอัตโนมัติ ( Self Acting) คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดเก็บหรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้ถูกกำหนดไว้ การทำงานดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลและแปลงผลลัพธ์ออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
กกกกกกกกความเร็ว ( Speed) คอมพิวเตอร์จะประมวลผลงานด้วยความเร็วสูง ต่างจากการประมวลผลงานในอดีตที่อาศัยแรงงานของมนุษย์ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ล่าช้ากว่ามาก งาน ๆ หนึ่งหากใช้แรงงานคนอาจเสียเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในการคิดและประมวลผล แต่หากนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้อาจลดเวลาและให้ผลลัพธ์ได้เพียงไม่กี่นาที ความรวดเร็วในการประมวลผลดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำเนินงานธุรกรรมในปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ผู้บริหารนำเอาไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว
กกกกกกกกความถูกต้อง แม่นยำ ( Accuracy) คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด การใช้แรงงานคนเพื่อประมวลผลเป็นเวลานาน อาจเกิดการผิดพลาดได้ เนื่องมาจากความอ่อนล้า เช่น ลงรายการผิด หรือบันทึกข้อมูลผิดประเภท ตรงกันข้ามกับคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและซ้ำ ๆ แบบเดิมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการป้อนข้อมูลเข้าที่ถูกต้องด้วย เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทราบได้ว่าข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามานั้นเป็นอย่างไร ผิดหรือถูก หากมีการป้อนข้อมูลผิด โปรแกรมหรือชุดคำสั่งอาจประมวลผลตามที่ได้รับข้อมูลมาเช่นนั้น ซึ่งความไม่ถูกต้องดังกล่าวไม่ใช่เป็นความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ หากเป็นความผิดพลาดของฝั่งผู้ใช้เอง เป็นต้น
กกกกกกกกความน่าเชื่อถือ ( Reliability) ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ จะมีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ต่อไปได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีฮาร์ดแวร์ที่ผลิตขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ มีการคิดค้นและพัฒนาให้ดีกว่ายุคสมัยก่อนที่มีการใช้เพียงแค่หลอดสุญญากาศ การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีความผิดพลาดต่ำมากหรือแทบไม่เกิดขึ้นเลย นั่นคือการมีความน่าเชื่อถือสูงนั่นเอง
กกกกกกกกการจัดเก็บข้อมูล ( Storage Capability) คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความธรรมดาหลาย ๆ ล้านตัวอักษร เพลง ภาพถ่าย วิดีโอ หรือไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมาก โดยมีหน่วยเก็บข้อมูลเฉพาะเป็นของตนเอง ช่วยให้การจัดเก็บและถ่ายเทข้อมูลเป็นไปได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมักพบเห็นหน่วยเก็บข้อมูลที่จุข้อมูลได้มากขึ้นและมีราคาที่ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก
กกกกกกกกทำงานซ้ำ ๆ ได้ ( Repeatability) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานซ้ำ ๆ กันได้หลายรอบ ช่วยลดปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน นอกจากนั้นยังลดความผิดพลาดต่าง ๆ ได้ดีกว่าด้วย ข้อมูลที่ประมวลผลแม้จะยุ่งยากหรือซับซ้อนเพียงใดก็ตาม จะสามารถคำนวณและหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว การคิดหาผลลัพธ์ของงานที่มีลักษณะซ้ำ ๆ แบบเดิม เช่น การบันทึกรายการบัญชีประจำวัน การลงรายการสินค้าเข้า – ออกในระบบสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงเหมาะอย่างยิ่งต่อการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน
กกกกกกกกการติดต่อสื่อสาร ( Communication) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นเครือข่ายมากยิ่งขึ้น แต่เดิมอาจเป็นแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลธรรมดา แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมาก เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าหากันเป็นเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเล็ก ๆ หรือระดับเครือข่ายใหญ่ ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้การประมวลผลงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไม่จำกัดอยู่แค่พื้นที่หนึ่งอีกต่อไป คุณสมบัติเหล่านี้อาจพบเห็นได้ในคอมพิวเตอร์แบบใหม่ ๆ ทั่วไป
บทที่ 1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์
คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
กกกกกกกกหมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
กกกกกกกกหมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
กกกกกกกธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
กกกกกกกกหมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
กกกกกกกกปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีร์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ
กกกกกกกก1.1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต ( Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง มีโครงสร้างได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer เป็นต้น
กกกกกกกก1.2 ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม ปัจจุบันซีพียูของเครื่องพีซี รู้จักในนามไมโครโปรเซสเซอร์ ( Micro Processor) หรือ Chip เช่นบริษัท Intel คือ Pentium หรือ Celelon ส่วนของบริษัท AMD คือ K6,K7(Athlon) เป็นต้น ไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูง และ ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย
กกกกกกกก1.3 หน่วยเก็บข้อมูล ( Storage ) ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
กกกกกกกกกกกกกกกก1.3.1 หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก ( Primary Storage หรือ Main Memory ) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไปซึ่งอาจแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ RAM ( Random Access Memory ) ที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ในขณะที่เปิดเครื่องอยู่ แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลใน RAM จะหายไป และ ROM ( Read Only Memory ) จะอ่านได้อย่างเดียว เช่น BIOS (Basic Input Output system) โปรแกรมฝังไว้ใช้ตอนสตาร์ตเครื่อง เพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงาน เป็นต้น
กกกกกกกกกกกกกกกก1.3.2 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage ) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดยซีพียู รวมทั้งเป็นที่เก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลด้วย ปัจจุบันรู้จักในนามฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) หรือแผ่นฟร็อปปีดิสก์ (Floppy Disk) ซึ่งเมื่อปิดเครื่องข้อมูลจะยังคงเก็บอยู่
กกกกกกกก1.4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต ( Output Unit ) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้ง 4 ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยบัส ( Bus )
2 ซอฟต์แวร์ ( Software )
ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
กกกกกกกก2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป โดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผล ของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
กกกกกกกกกกกกกกกก2.1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุม และติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่ง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ในการทำงาน แล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Unix Linux DOS และWindows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000 NT XP Vista ) เป็นต้น
กกกกกกกกกกกกกกกก2.1.2 ตัวแปลภาษา (Translator) จาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่ง เป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์ (Interpeter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน แล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งมี 2 แบบได้แก่ ภาษาแบบโครงสร้าง เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา(Java)ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น ภาษาแบบเชิงวัตถุ ( Visual หรือ Object Oriented Programming ) เช่น Visual Basic,Visual C หรือ Delphi เป็นต้น
กกกกกกกกกกกกกกกก2.1.3 ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility Program) คือซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้นโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรม Norton Winzip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น
กกกกกกกกกกกกกกกก2.1.4 ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setupและ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound , Driver Printer , Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น
กกกกกกกก2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
กกกกกกกกกกกกกกกก2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
กกกกกกกกกกกกกกกก2.2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงาน ซึ่งขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
3 บุคลากร ( Peopleware )
บุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรตามหน้าที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานได้ 6 ด้าน ดังนี้
กกกกกกกก3.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analyst and Designer : SA ) ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรม (Programmer) หรือปรับปรุงคุณภาพงานเดิม นักวิเคราะห์ระบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการเขียนโปรแกรม และควรจะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
กกกกกกกก3.2 โปรแกรมเมอร์ ( Programmer ) คือบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ(Software )หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
กกกกกกกก3.3 ผู้ใช้ ( User ) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือกำหนดความต้องการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
กกกกกกกก3.4 ผู้ปฏิบัติการ (Operator ) สำหรับระบบขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง จะต้องแจ้ง System Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเครื่อง (System Software) อีกทีหนึ่ง
กกกกกกกก3.5 ผู้บริหารฐานข้อมูล ( Database Administrator : DBA ) กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
กกกกกกกก3.6 ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก
4. ข้อมูลและสารสนเทศ
กกกกกกกก4.1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ตัวเลขตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ต่างๆ ทำความหมายแทนสิ่งเหล่านั้น เช่น
· คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน
· อายุของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
· ราคาขายของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
· คำตอบที่ผู้ถูกสำรวจตอบในแบบสอบถาม
กกกกกกกก4.2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หรือผ่านวิธีการที่ ได้กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำข้อสรุปไปใช้งานหรืออ้างอิง เช่น
· เกรดเฉลี่ยของวิชาภาษาไทยของนักเรียน
· อายุเฉลี่ยของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
· ราคาขายสูงสุดของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
· ข้อสรุปจากการสำรวจคำตอบในแบบสอบถาม
5. กระบวนการทำงาน ( Procedure )
องค์ประกอบด้านนี้หมายถึงกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีคู่มือปฏิบัติงาน เช่น คู่มือผู้ใช้ ( user manual ) หรือคู่มือผู้ดูแลระบบ ( operation manual ) เป็นต้น
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
โดยทั่วไปที่เราพบเห็นกันในปัจจุบัน จะมีคุณสมบัติที่เป็นพื้นฐาน ซึ่งพอจะแบ่งออกได้ดังนี้
กกกกกกกกความเป็นอัตโนมัติ ( Self Acting) คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดเก็บหรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้ถูกกำหนดไว้ การทำงานดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลและแปลงผลลัพธ์ออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
กกกกกกกกความเร็ว ( Speed) คอมพิวเตอร์จะประมวลผลงานด้วยความเร็วสูง ต่างจากการประมวลผลงานในอดีตที่อาศัยแรงงานของมนุษย์ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ล่าช้ากว่ามาก งาน ๆ หนึ่งหากใช้แรงงานคนอาจเสียเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในการคิดและประมวลผล แต่หากนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้อาจลดเวลาและให้ผลลัพธ์ได้เพียงไม่กี่นาที ความรวดเร็วในการประมวลผลดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำเนินงานธุรกรรมในปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ผู้บริหารนำเอาไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว
กกกกกกกกความถูกต้อง แม่นยำ ( Accuracy) คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด การใช้แรงงานคนเพื่อประมวลผลเป็นเวลานาน อาจเกิดการผิดพลาดได้ เนื่องมาจากความอ่อนล้า เช่น ลงรายการผิด หรือบันทึกข้อมูลผิดประเภท ตรงกันข้ามกับคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและซ้ำ ๆ แบบเดิมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการป้อนข้อมูลเข้าที่ถูกต้องด้วย เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทราบได้ว่าข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามานั้นเป็นอย่างไร ผิดหรือถูก หากมีการป้อนข้อมูลผิด โปรแกรมหรือชุดคำสั่งอาจประมวลผลตามที่ได้รับข้อมูลมาเช่นนั้น ซึ่งความไม่ถูกต้องดังกล่าวไม่ใช่เป็นความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ หากเป็นความผิดพลาดของฝั่งผู้ใช้เอง เป็นต้น
กกกกกกกกความน่าเชื่อถือ ( Reliability) ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ จะมีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ต่อไปได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีฮาร์ดแวร์ที่ผลิตขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ มีการคิดค้นและพัฒนาให้ดีกว่ายุคสมัยก่อนที่มีการใช้เพียงแค่หลอดสุญญากาศ การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีความผิดพลาดต่ำมากหรือแทบไม่เกิดขึ้นเลย นั่นคือการมีความน่าเชื่อถือสูงนั่นเอง
กกกกกกกกการจัดเก็บข้อมูล ( Storage Capability) คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความธรรมดาหลาย ๆ ล้านตัวอักษร เพลง ภาพถ่าย วิดีโอ หรือไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมาก โดยมีหน่วยเก็บข้อมูลเฉพาะเป็นของตนเอง ช่วยให้การจัดเก็บและถ่ายเทข้อมูลเป็นไปได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมักพบเห็นหน่วยเก็บข้อมูลที่จุข้อมูลได้มากขึ้นและมีราคาที่ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก
กกกกกกกกทำงานซ้ำ ๆ ได้ ( Repeatability) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานซ้ำ ๆ กันได้หลายรอบ ช่วยลดปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน นอกจากนั้นยังลดความผิดพลาดต่าง ๆ ได้ดีกว่าด้วย ข้อมูลที่ประมวลผลแม้จะยุ่งยากหรือซับซ้อนเพียงใดก็ตาม จะสามารถคำนวณและหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว การคิดหาผลลัพธ์ของงานที่มีลักษณะซ้ำ ๆ แบบเดิม เช่น การบันทึกรายการบัญชีประจำวัน การลงรายการสินค้าเข้า – ออกในระบบสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงเหมาะอย่างยิ่งต่อการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน
กกกกกกกกการติดต่อสื่อสาร ( Communication) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นเครือข่ายมากยิ่งขึ้น แต่เดิมอาจเป็นแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลธรรมดา แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมาก เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าหากันเป็นเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเล็ก ๆ หรือระดับเครือข่ายใหญ่ ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้การประมวลผลงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไม่จำกัดอยู่แค่พื้นที่หนึ่งอีกต่อไป คุณสมบัติเหล่านี้อาจพบเห็นได้ในคอมพิวเตอร์แบบใหม่ ๆ ทั่วไป
1. สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก (Magnetic Disk device)
เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นจานเก็บข้อมูล ซึ่งนิยมนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ดังนี้
1.1ฟลอปปีดิสก์ (Floppy disk) เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมักจะเรียกว่า “ดิสก์เก็ตต์ (Diskette) หรือ แผ่นดิสก์” เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูก และไม่ยุ่งยากในการใช้งาน เนื้อแผ่นดิสก์ทำมาจากแผ่นไมลาร์และเคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็งอยู่ภายนอก ที่เปรียบเสมือเกาะป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะมีผลต่อแผ่นดิสก์ เช่น ฝุ่นละออง รอยขีดข่วน
ในอดีต แผ่นดิสก์จะมีขนาดใหญ่ ๕.๒๕ นิ้ว มีความจุน้อย ไม่สะดวกในการพกพา และได้ยกเลิกการใช้งานไปแล้ว ปัจจุบันได้นำแผ่นดิสก์ขนาด ๓.๕ นิ้วมาใช้แทน โดยมรขนาดความจุข้อมูลที่สูง ราคาถูก มีความสะดวกในการพกพาและมีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าในอดีต เนื่องจากการนำแผ่นดิสก์มาใช้งานนั้นจะต้องทำการจัดโครงสร้างของพื้นที่บนแผ่นดิสก์สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลก่อน ด้วยวิธีฟอร์แมต (Format) ก่อนที่จะสามารถนำแผ่นดิสก์ไปใช้งานได้ โดยผู้ใช้จะต้องจัดโครงสร้างของแผ่นดิสก์ด้วยตัวเอง แต่ในปัจจุบันได้สร้างความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ยิ่งขึ้น เนื่องจากบริษัทที่ทำการผลิตแผ่นดิสก์ได้ทำการฟอร์แมต (Format) แผ่นดิสก์มาตั้งแต่กระบวนการผลิต ผู้ใช้สามารถนำมาใช้ในทันที จึงผู้ใช้บางคนไม่รู้จัก ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการฟอร์แมตแผ่นดิสก์เมื่อทำการฟอร์แมตแล้วแผ่นดิสก์จะถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็น
แทรก (Trak) คือ การแบ่งพื้นที่ของแผ่นดิสก์ออกเป็นส่วนๆ ตามแนวเส้นรอบวงรอบแผ่นดิสก์
เซกเตอร์ (Sector) คือ การแบ่งพื้นที่ของแทรก แต่ละแทรกออกเป็นส่วนๆ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
การแบ่งพื้นที่ของแผ่นดิสก์ออกเป็นจำนวนกี่แทรก และกี่เซตเตอร์นั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นดิสก์
ปัจจุบันแผ่นดิสก์ที่ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูล จะมีความจุของแผ่นดิสก์ คือ 1.44 เมกะไบต์(MB) เป็นแผ่นดิสก์ชนิด DS/HD (Double Side High Density) แผ่นดิสก์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้านจะมัจำนวน 80 แทรก แต่ละแทรกมีจำนวน 18 เซกเตอร์และในแต่ละเซกเตอร์จะสามารถจุข้อมูลได้จำนวน 512 ไบต์
สามารถคำนวณความจุของแผ่นดิสก์ได้ดังนี้
= 2x80x18x512 ไบต์
(เก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน )(DS) x จำนวนแทรก x จำนวนเซกเตอร์/แทรกxจำนวนไบต์/เซกเตอร์)
=1,474,560
=1.44 เมกะไบต์
ฟลอปปีดิสก์
1.2 ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คือ อุปกรณ์สำหรับการจัดเก็บข้อมูล มีความจุสูงกว่าแผ่นดิสก์ แต่มีโครงสร้างคล้ายกับแผ่นดิสก์ ลักษณะของฮาร์ดดิสก์ไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล โปรแกรม ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุกต์
โครงสร้างฮาร์ดดิกส์ ประกอบด้วย
แพลตเตอร์(Platters) มีลักษณะเป็นจานคล้ายกับแผ่นดิกส์ทำจากแผ่นอลูมิเนียมแข็งเคลือบด้วยออกไซต์ของเหล็ก
ไซลินเดอร์(Cylinder) คือแทรกที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ในแต่ละแพลตเตอร์ออกเป็น แทรก เซกเตอร์ เช่นเดียวกับแผ่นดิสก์ เนื่องจากในแต่ละฮาร์ดดิสก์จะมีหลายแพลตเตอร์ให้หมุนไปพร้อมๆ กัน เรียกว่า “สปินเดล(spindle)”
การอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนอาร์ดดิสก์จะต้องมีตัวหัวอ่าน/เขียน ข้อมูลลงบนแพลตเตอร์(Rad/write head)หัวอ่าน/เขียนข้อมูลนั้นไม่สำผัสกับส่วนของแพลตเตอร์โดยตรงแต่จะอาศัยกระแสไฟฟ้าในการอ่าน/เขียนข้อมูล
โดยปกติฮาร์ดดิสก์จะมีจำนวน6แพลตเตอร์ในแต่ละแพลตเตอร์จะมี 2 ด้านดังนั้นจะมีทั้งหมด 12 หน้า และในส่วนล่างสุดจะไม่นำมาใช้งาน ดังนั้นหัวอ่าน/เขียน ข้อมูลจึงมีทั้งหมด 11 หัว
ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้น สามารถบรรจุฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 1 ตัว แต่เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีความจุมากเพียงพอต่อการบันทึกข้อมูล และใช้งาน จึงไม่นิยมบรรจุฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 ไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ถ้าต้องการที่จะบันทึกข้อมูลจำนวนมากเก็บไว้ แต่ไม่สามารถบันทึกเก็บไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆได้ เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก ก็สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ชนิดพกพา ในการเก็บข้อมูลได้เช่นเดียวกับหน่วยความจำแบบแฟลช
ฮาร์ดดิสก์
2 สื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง Optical Storage Devices
สื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน มีความจุสำหรับเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปีดิสก์ แต่น้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ การบันทึกข้อมูลลงในสื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง จะมีความแตกต่างจากวิธีการบันทึกขัอมูลลงในสื่อชนิดจากแม่เหล็ก โดยวิธีการบันทึกข้อมูลจะต้องมีอุปกรณ์ และซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนข้อมูลลงบนสื่อชนิดนี้โดยเฉพาะ การบันทึกข้อมูลจะถูกบันทึกตามแนวเส้นรอบวงแบบร่องก้นหอย ลักษณะการบันทึกข้อมูลจากข้างในออกมาด้านนอก โครงสร้างของสื่อชนิดนี้จะถูกแบ่งเป็นแทรกแบะมีส่วนย่อยของแทรกเป็นเซกเตอร์ เช่นเดียวกับสื่อเก็บข้อมูลชนิดจากแม่เหล็ก แต่ได้นำหลักการของแสงเข้ามาช่วยในการอ่าน และบันทึกข้อมูล สื่อเก็บข้อมูลแบบแสง ได้แก่
ในฮาร์ดดิสก์ก็ทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนน้ายข้อมูล จึงทำสื่อชนิดซีดีเข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูล และนอกจากที่ไดัซีดีมาใช้ในการบันทึกข้อมูลต่างๆเหล่านั้น ยังนิยมนำซีดีมาใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลประเภทสื่อมัลติมีเดีย เพลง ภาพยนต์
ข้อดีของการบันทึกข้อมูลลงบนซีดี คือ สะดวกในการพกพา การเคลื่อนย้ายข้อมูลการกำหนดมาตรฐานรูปแบบของการบันทึกข้อมูลลงในสื่อชนิดนี้มีมาตรฐานสากลที่เรียกว่า "มาตรฐานไอเอสโอ 9660" การบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ชนิดใดก็ตาม สามารถที่จะนำแผ่นซีดีนั้นไปอ่านจากเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดใดก็ได้ และนอกจากการนำไปอ่านข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ถ้าเป็นไฟล์ประเภท ภาพ หรือเสียง สามารถนำไปอ่านข้อมูลจากเครื่องเล่น DVD หรือ VCD ได้ แต่ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานการรับรองของเครื่องเล่นแต่ละประเภทและเป็นรูปแบบข้อมูลที่เครื่องเล่นสามารอ่านได้ เช่น mpeg ppe เป็นต้น ถ้าเป็นข้อมูล ข้อความ หรือโปรแกรมก็ไม่สามารถอ่านได้
นอกจากนี้บริษัทฟิลลิปส์ และบริษัทโซนี ได้ร่วมกับบริษัทโกดัก ที่มีความชำนาญด้านการบันทึกภาพแชะกล้องถ่ายรูป ผลิตซีดีที่สามารถบันทึกภาพได้แทนการใช้ฟิล์มถ่ายภาพ และบริษัทโกดักได้ผลิตกล้องถ่ายภาพที่สามารถบันทึกภาพลงบนแผ่นซีดีได้ พร้อมกับเป็นอุปกรณ์สำหรับดูภาพและสามารถพิมพ์ภาพออกมาได้โดยตรง ซีดีชนิดนี้เรียกว่า โฟโต้ซีดี
สามารถจัดแบ่งประเภทของคอมแพ็กดิสก์ออกเป็น 3ประเภท ดังนี้
1. CD Rom (Compact disc read only memory) เป็นสื่อที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เช่น ซอฟต์แวร์ชนิดต่างๆ ที่ต้องการนำมาติดตั้งเพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย เช่น โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CD -Training ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลจากซีดีรอมได้เพียงอย่างเดียว โดยไม่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำลงไปบนแผ่นซีดีรอมได้ ส่วนใหญ่ซีดีรอมจะเป็นแผ่นที่มีกระบวนการผลิตสำเร็จรูปจากโรงงานโดยใช้เครื่องจักรในการปั๊มแผ่นสำเนาขึ้นมาในคราวละเป็นจำนวนมาก และผู้ใช้ก็สามารถที่จะนำแผ่นซีดีรอมเหล่านี้ไปใช้งานได้หลายครั้ง จึงนิยมมาใช้กับงานด้านธุรกิจอัตราความเร็วของเครื่องอ่านซีดีรอมในปัจจุบันจะมีความเร็วมากกว่า 50x ความเร็ว 1x (Single Speed) จะมีอัตราเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลประมาณ 150 KBps (Kilobytes Per Secound) ดังนั้น 50x = (50 x 150) มีอัตราความเร็วเท่ากับ 7500 KBps จะมีอัตราเร็วในกาคถ่ายโอนข้อมูลช้ากว่าฮาร์ดดิสก์มาก ฮาร์ดดิสก์มีอัตราเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล ตั้งแต่ 5-15 MBps (Megabytes Per Secound)
2. CD-R (Compact disc recordable) เป็นสื่อที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลที่มีราคาถูกมักนิยมนำมาใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรอง มีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สำหรับการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R เรียกว่า “ CD Writer” นอกจาก CD Writer สามารถเขียนลงบนแผ่น CD-R แล้วยังทำหน้าที่สำหรับอุปกรณ์ในการอ่านแผ่น CD-R ได้ด้วย การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R นั้น ในแต่ละตำแหน่งที่ได้เขียนข้อมูลลงไปแล้วจะสามารถเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว และจะไม่สามารถลบ หรือแก้ไขข้อมูลเหล่านั้นได้อีก แต่ถ้าการเขียนข้อมูลลงไปยังไม่เต็มพื้นที่ของแผ่นก็จะสามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติมลงบนพื้นที่ว่างนั้นได้อีก ลักษณะการเขียนข้อมูลลงไปบนแผ่น CD-R ได้หลายครั้งนั้น เรียกว่า “มัลติเซสซัน (Multisession)” เป็นการแบ่งพื้นที่ในการบันทึกข้อมูลที่ละส่วนที่เรียกว่า เซสซัน (Session) แต่ละเซสซันประกอบด้วยหลายๆแทรก (Track) การเขียนข้อมูลลงบนCD-R แต่ละครั้งจะทำการเขียนในเซสซันที่ต่อจากเซสซันเดิมที่มีข้อมูลอยู่แล้วไม่สามารถเขียนข้อมูลทับข้อมูลในเซสซันที่ได้มีการเขียนลงไปแล้วได้
3. CD-RW (Compact disc rewritable) แผ่นชนิดนี้จะมีลักษณะรูปแบบโครงสร้างของแผ่น วิธีการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น สามารถเขียนข้อมูลได้หลายครั้งเช่นเดียวกับแผ่น CD-R แต่มีข้อดีกว่าการเขียนข้อมูลของแผ่นCD-R คือ สามารถที่จะลบข้อมูลและเขียนข้อมูลซ้ำไปบนแผ่นได้เช่นเดียวกับแผ่นดิสก์ แต่แผ่นชนิดนี้จะมีราคาสูงกว่าแผ่น CD-R เหมาะกับงานที่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่บ่อยๆ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อแผ่น เพราะแผ่น CD-RW สามารถลบข้อมูลทิ้งและเขียนข้อมูลใหม่แทนที่ได้ถึงกว่าพันครั้ง
สำหรับเครื่องอ่านและเขียนแผ่นซีดีที่เรียดว่า CD Writer นั้นสามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ทั้งแบบแผ่น ที่ได้ทั้งแบบแผ่น CD-R และ CD-RW โดยที่ตัวเครื่องจะระบุความเร็วในการเขียนและอ่านแผ่นซีดีแต่ละชนิดไว้ เช่น 48x 12x 50x หมายความว่า
- ความเร็วในการเขียนแผ่น C-R 48 เท่า
- ความเร็วในการเขียนแผ่น C-RW 12 เท่า
- ความเร็วในการอ่านแผ่นซีดีทั่วไป 50 เท่า
2.1 DVD (Digital Versatile Disc / Digital Video Disc) สื่อชนิดนี้จะเป็นสื่อที่นิยมนำมาใช้กับการบันทึกข้อมูลที่ต้องการความจุสูง จึงนิยมนำมาใช้กับการบันทึกภาพยนตร์มีความจุได้ตั้งแต่ 4.7-17 กิกะไบต์ และจะมีความจุมากขึ้นในอนาคต การจัดเก็บข้อมูลมีการแบ่งออกเป็นชั้นๆ ที่เรียกว่า “เลเยอร์ (Layer)” การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น DVD การบีบอัดข้อมูลที่เรียกว่า “MPEG-2” สำหรับในแผ่น DVD นั้น นอกจากจะสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นซีดีแล้วนั้น ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของเครื่องอ่านแผ่น DVD จะมีความเร็วที่สูงกว่าเครื่องอ่านแผ่นซีดี เพราะสามารถถ่ายโอนข้อมูลที่ประมาณ 1,350 KBps ในอัตราความเร็วที่ 1x (Single speed) นิยมนำมาใช้กับการบันทึกภาพยนตร์ ทำให้การเคลื่อนไหวกับรูปภาพเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและระบบการบันทึกเสียงลงบนแผ่น DVD จะมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าแผ่นซีดี จากคุณสมบัติที่ดีกว่าแผ่นซีดี จึงทำให้แผ่น DVD มีราคาสูงกว่าแผ่นซีดี
การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น DVD นั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ในการเขียนข้อมูล คือ DVD Writer และสามารถจัดแบ่งประเภทของแผ่นซีดี จึงทำให้แผ่น DVD มีราคาสูงกว่าแผ่นซีดี
1. DVD Rom คือ แผ่นที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตมาจากโรงงานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นแผ่นที่สามารถอ่านได้หลายๆครั้ง แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูล ลบข้อมูล และเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ภายใน DVD Rom ได้
2. DVD-R และ DVD-RW คือแผ่น DVD สามารถเขียนข้อมูลได้ตามมาตรฐาน DVD Forum จะมีความจุข้อมูลสูงสุดเท่ากับ 4.7 กิกะไบต์ ในปัจจุบัน และจะเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต ที่การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น DVD-R นั้น จะเหมือนกับการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R คือ ในแต่ละตำแหน่งบนพื้นที่ของแผ่นจะสามารถเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว สำหรับ DVD-RW จะมีลักษณะเช่นเดียวกับแผ่น CD-R คือสามารถเขียนข้อมูลซ้ำลงบนตำแหน่งเดิมได้หลายๆครั้ง เหมือนกับแผ่นดิสก์และวิธีการเขียนข้อมูลอาจเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ โยการลบข้อมูลเก่าทิ้งทั้งหมด หรือจะเป็นการนำข้อมูลไหม้มารวมกับข้อมูลเก่าแล้วนำมาเขียนไปพร้อมๆกันก็ได้
3. DVD+R และ DVD+RW การเขียนข้อมูลลง DVD+R และ DVD+RW จะคล้ายกับวิธีการเขียนของแผ่น DVD ในกลุ่มมาตรฐานเดิม แต่จะมีความเร็วในการเขียนแผ่นมากกว่า
การอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD จะใช้เครื่องอ่าน DVD เท่านั้น โยไม่สามารถนำแผ่น DVD ไปอ่านจากเครื่องซีดีได้ แต่ถ้าเป็นแผ่นซีดีทั่วๆไป สามารถที่จะนำมาอ่านบนเครื่องอ่าน DVD ได้ ปัจจุบันการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นอกจากการใช้สำหรับการทำงานด้านต่างๆ แล้ว สามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นอุปกรณ์เพื่อความบันเทิง จึงติดตั้งเครื่องอ่าน DVD ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แทนเครื่องอ่านซีดี เพราะเครื่องอ่าน DVD นอกจากอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD ได้แล้ว สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีประเภทอื่นๆได้อีกด้วย จึงทำให้สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น สำหรับไดรว์ที่ใช้เขียนแผ่น DVD ในปัจจุบันจะสามารถเขียนได้ทั้งแบบ +RW และ –RW เรียกว่า “แบบ Dual Format”
3.สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape Device)
สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการเก็บข้อมูล (Backup) มีราคาถูก และมีความจุในการบันทึกข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก สื่อชนิดนี้มีการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าแบบโดยตรง (Direct Access) ปัจจุบันมีเทปที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลหลายชนิด เช่น แบบม้วนใช้สำหรับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์นอกจากนี้ยังมีเทปชนิด DAT หรือ Digital Audio Tape เป็นเทปที่ใช้สำหรับการบันทึกเพลง เป็นต้น ความเร็วในการอ่านของเครื่องอ่านเทปจะมีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inch Per Second) และมีอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลมีหน่วยเป็นไบต์ต่อวินาที (Byte Per Second)
เทป
4.หน่วยความจำแบบแฟลช (Flash Memory)
หน่วยความจำแบบแฟลช เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลแทนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ เนื่องจากเป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเช่นเดียวกับหน่วยความจำแรม (RAM) และเป็นหน่วยความจำที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก สามารถพกพาง่าย นิยมนำมาใช้แทนแผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ และแม้กระทั่งแผ่นซีดีชนิดต่างๆ ใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิด มีวิธีการบันทึกข้อมูล ลบข้อมูล หรือการฟอร์แมตเหมือนกับแผ่นดิสก์ จึงทำให้สะดวกในการใช้งาน
หน่วยความจำแบบแฟลชมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive หรือ Handy Drive ที่สามารถต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์และอ่านข้อมูลได้โดยตรง และระบบปฏิบัติการ Window ที่ใช้งานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะสนับสนุนการใช้งานกับอุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์ (Driver) สำหรับติดต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ชนิดใหม่ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน
นอกจากนี้ยังมีหน่วยความจำแบบแฟลชที่อยู่ในรูปแบบของการ์ดหน่วยความจำ (Memory Card) เช่น Memory Stick, Multimedia Card, Compact Flash, Smart Media และ SD Card เป็นต้น ความจุของหน่วยความจำแบบแฟลชนี้จะมีความจุตั้งแต่ 16 เมกะไบต์ไปจนถึงวามจุที่มีหน่วยความจุเป็นกิกกะไบต์
แฟลชไดรฟ์
อุปกรณ์ต่อพ่วง
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้
อุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิดมีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1.แผงพิมพ์อักขระ
เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการกดแป้นจากนั้นก็เปลี่ยนรหัสแล้วส่งไปยังประมวลผลกลาง แป้นพิมพ์โดยทั่วไปมี 50 แป้นขึ้นไปแบ่งเป็นแป้นตัวเลขและแป้นอักขระ
2.เมาส์
เป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่ได้รับข้อมูลจากการกดปุ่มข้างบนเมาส์ ทำหน้าที่คลิกปุ่มคำสั่งที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
กกกกกกกก2.1 เมาส์ทางกล
กกกกกกกก2.2 เมาส์แบบใช้แสง
3.อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถติดกับตัวโน๊ตบุ๊ค สะดวกในการพกพา ซึ่งมี 3ประเภท
กกกกกกกก3.1ลูกกลมควบคุม
กกกกกกกก3.2แท่งชี้ควบคุม
กกกกกกกก3.3แผ่นรองสัมผัส
4.ก้านควบคุม เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอ มีลักษณะเป็นก้านโผล่ออกมาจากกล่อง
5.จอสัมผัส
เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการสัมผัสโดยเมื่อมีการเลือกตำแหน่งที่ถูกเลือกจะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่แปลคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
6.อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ ที่นิยมใช้มีอยู่ 3ประเภท
กกกกกกกก6.1 เครื่องอ่านรหัสแท่ง อุปกรณ์รับเข้าที่ทำงานโดยหลักการของการสะท้อนแสง เครื่องจะส่องลำเสียงไปยังรหัสบนสินค้าจากนั้นจะเปลี่ยนรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
กกกกกกกก6.2 เครื่องกราดตรวจหรือสแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทรูปภาพและข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์โดยใช้หลักสะท้อนแสง ข้อมูลจะถูกแปลงในแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและเก็บไว้ในหน่วยความจำ
กกกกกกกก6.2กล้องดิจิทัล ทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูปทั่วไปแต่ไม่ต้องมีฟิล์มและมีคอมแพ็กแฟลช
7.เว็บแคม
เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทกล้องวีดีโอที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวผ่านเว็บไซค์แล้วปรากฎบนหน้าจอได้
8.จอภาพ มี2 ชนิด
1.จอภาพแบบซีอาร์ที มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ ทำงานโดยเทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอน โดยยิงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในจอเมื่อลำแสงวิ่งมาชนจะเกิดแสงสว่างขึ้น
2.จอภาพแบบแอลซีดี ทำงานโดยอาศัยการเบี่ยงเบนแสงตามการควบคุมทิศทางของโพราไลเซชั่นของวัตถุที่กั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและแผ่นเคลือบสารเรืองแสง ป้องแรงดันเข้าไปยังแผ่นเพลตเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า มีผลให้แสดงจากแหล่งกำเนิดสามารถผ่านทะลุกระทบกับสารเรืองแสงจนเกิดแสงสีที่ต้องการ
9. ลำโพง
เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นเสียงโดยใช้งานคู่กับการด์เสียงซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนาล็อกแล้วส่งไปยังลำโพง
10.หูฟัง
เป็นอุปกรณ์ส่งออกใช้ฟังเพลงจากคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณจากไฟฟ้าเป็นเสียง มีทั้งชนิดไร้สายและมีสาย บางรุ่นก็จะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
11. เครื่องพิมพ์
เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลงานพิมพ์ลงบนกระดาษ แบบเครื่องพิมพ์
กกกกกกกก11.1เครื่องพิมพ์แบบจุด
กกกกกกกก11.2เครื่องพิมพ์เลเซอร์
กกกกกกกก11.3เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก
กกกกกกกก11.4พล็อตเคอร์
12. โมเด็ม
เป็นการแปลงสัญญาณเพื่อให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้โดยเชื่อมต่อคอมเข้ากับคู่สายของโทรศัพท์ แล้วโมเด็มก็จะแปลงจากสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก
13.เคส
คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น
14. พาวงเวอร์ซัพพลาย
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
15.เมนบอร์ด
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
16.ซีพียู ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
17. การ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
18.แรม
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
19. ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน
20. ฟล็อปปี้ดิสก์
เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ
21.เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ ได้ดังนี้
ระบบปฏิบัติการคือ
ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน (ควบคุมการRun) ของโปรแกรมประยุกต์ ทำหน้าที่
โต้ตอบและเป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์ ควบคุมและสั่งการให้ Hardware สามารถทำงานได้ เช่น ทำหน้าที่ในการตรวจเช็คอุปกรณ์ Keyboard ขณะเปิดเครื่อง ถ้าผู้ใช้ลืมเสียบสาย Keyboard ที่ port ด้านหลังของเครื่อง ขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบแล้วไม่พบอุปกรณ์เชื่อมต่อดังกล่าว จะมีข้อความแจ้งเตือนความผิดพลาด “Keyboard Error” นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมการทำงานระหว่าง User ในการใช้โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software) ของ user กับระบบเครื่องฯ อำนวยความสะดวกในการใช้งาน และเพิ่มประสิทธิ์ภาพของระบบ
ยุคที่ 1 หลอดสูญญากาศ ยังไม่มีระบบปฏิบัติการ
ช่วงปี ค.ศ. 1945 ถึง ค.ศ. 1955 มีการผลิตเครื่องจักรในการคำนวณโดยใช้หลอดสุญญากาศ ( Vacumm Tube ) ขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่มากประกอบด้วย
หลอดสุญญากาศประมาณ 10,000 หลอด แต่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบันมาก และมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้ใช้งาน และเชี่ยวชาญกับเครื่องดังกล่าว ในการสั่งงานให้เครื่องทำงานตามโปรแกรมที่กำหนดจะต้องทำงานโดยตรงกับเครื่องโดยใช้ฮาร์ดแวร์ในการสั่งงาน หรือที่เรียกว่าปลั๊กบอร์ดซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมการทำงาน
ภาษาคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่เกิดขึ้น จึงต้องมีการควบคุมการทำงานของเครื่องโดยคนอยู่ตลอดเวลา ไม่มีส่วนของโปรแกรมควบคุมระบบในการทำงานจึงถือว่าไม่มีระบบปฏิบัติการสำหรับใช้งาน
ยุคที่ 2 ทรานซิวเตอร์กับการประมวลผลแบบแบทซ์
ช่วงปี ค.ศ. 1955 ถึง ค.ศ. 1965 ได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ขึ้นเป็นผลสำเร็จ ทำให้วงการคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์มาใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างคอมพิวเตอร์แทนการใช้หลอดสุญญากาศแบบเดิม และเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจ และในช่วงนี้เองที่มีการแบ่งกลุ่มหรือจัดสรรบุคลากรที่ทำงานทางด้านคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีหน้าที่การทำงานเฉพาะด้านอย่างชัดเจน จากเดิมที่คนเพียงคนเดียวทำงานทุกอย่างกลายเป็นแต่ละคนจะมีหน้าที่เฉพาะอย่างเช่น ผู้ออกแบบระบบ นักเขียนโปรแกรม พนักงานบันทึกข้อมูล ผู้บำรุงรักษาเครื่องเป็น
ในช่วงนี้ก็ได้มีการพัฒนาภาษาฟอร์แทรน ( FORTRAN ) ขึ้นเพื่อใช้งานซึ่งถือว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงภาษาแรก โดยใช้บัตรเจาะรูในการบันทึกข้อมูล การเขียนโปรแกรมแต่ละครั้งจะเป็นการเขียนโปรแกรมลงกระดาษก่อนแล้วจึงนำไปในห้องบันทึกเพื่อทำการเจาะบัตรตามโปรแกรมที่เขียนไว้ ต่อจากนั้นจะส่งบัตรไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล เมื่อคอมพิวเตอร์ทำงานเสร็จพนักงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ จะนำผลที่ได้ไปยังห้องแสดงผลเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมที่ตนเขียน ซึ่งจะเห็นว่ามีขั้นตอนในการทำงานมาก และเสียเวลาในการทำงานมาก และจากการที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้งานมาก
นักออกแบบระบบคอมพิวเตอร์จึงได้พยายามหาหนทางที่จะทำให้การทำงานเร็วขึ้น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบการประมวลผลแบบแบทช์ ( Batch Processing System ) ซึ่งเป็นแนวความคิดในการรวบรวมงานจำนวนหลายๆ งาน มาเก็บไว้ในเทปแม่เหล็กซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและทำงานได้เร็วกว่าบัตรเจาะรู หลังจากที่มีการรวบรวมงานลงบนเทปแล้ว ก็นำเทปดังกล่าว
(บรรจุงาน 1 งาน หรือมากกว่า 1 งาน) ไปยังห้องเครื่องซึ่งพนักงานควบคุมเครื่องจะติดตั้งเทป และเรียกใช้โปรแกรมพิเศษ (ในปัจจุบันเรียกว่าระบบปฏิบัติการ) เพื่อทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากเทปและ
นำไปประมวลผล ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน ก็จัดเก็บลงบนเทปอีกม้วนหนึ่ง หรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็ได้ และเมื่อเสร็จงานหนึ่งๆ ระบบจัดการก็จะทำการอ่านงานถัดไปโดยอัตโนมัติต่อไป และเมื่อหมดทุกงานหรือเทปหมดพนักงานควบคุมเครื่องก็เพียงแต่นำเทปม้วนใหม่ใส่เข้าไปเพื่อทำงานต่อ และนำเอาเทปที่เก็บผลลัพธ์ไปพิมพ์ที่เครื่องที่จัดไว้เพื่อการพิมพ์ผลโดยเฉพาะ ทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้ปริมาณงานมากในระยะเวลาการใช้งานเท่ากันเมื่อเทียบกับการใช้งานในรูปแบบเดิม
งานส่วนใหญ่ที่นำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 นี้ จะเป็นงานที่เกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์ และการคำนวณทางวิศวกรรม การแก้สมการทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะ
ใช้ภาษาฟอร์แทรน และ แอสเซมบลี้ ในการทำงาน ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการที่มีใช้งานในยุคนี้ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการเอฟเอ็มเอส ( FMS : Fortran Moniter System ) เป็นต้น
ยุคที่ 3 ยุคไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (Multiprogramming)
ช่วงปี ค.ศ. 1965 ถึง ค.ศ. 1980 การใช้งานคอมพิวเตอร์ได้มีการขยายขอบเขตการใช้งานไปสู่วงการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งกลุ่มของงานออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ งานทางด้านธุรกิจ และงานทางด้านวิทยาศาสตร์ และเพื่อสนองความต้องการการใช้คอมพิวเตอร์ในวงการบริษัทไอบีเอ็มจึงได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานทางด้านธุรกิจแต่ยังคงความสามารถในการคำนวณข้อมูลทาง
คณิตศาสตร์ไว้เช่นเดิม เรียกว่าซีสเต็ม 360 ( System 360 ) และได้มีการพัฒนาต่อไปเป็น 370 4304 3080 และ 3090 ในเวลาต่อมา ไอบีเอ็ม 360 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการนำเอา
เทคโนโลยีไอซีมาใช้ จึงทำให้มีความเร็วในการทำงานสูงขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความเร็วในการทำงานจะสูงเพียงใดก็ตาม แต่เนื่องจากมีการนำอุปกรณ์อื่นๆ มาเชื่อมต่อ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น จึงทำให้การทำงานที่ช้ากว่ามากจนทำให้หน่วยประมวลผลต้องคอยการทำงานของอุปกรณ์เหล่านั้น เช่นการอ่านข้อมูลจากเครื่องอ่านบัตรหรือเทปซึ่งในขณะที่อ่านข้อมูลอยู่นั้นหน่วยประมวลผลไม่ได้ทำงานอื่นเลยเนื่องจากต้องคอยให้อ่านข้อมูลเสร็จ
ก่อนหน่วยประมวลผลจึงจะทำงานต่อไปได้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้เกิดแนวความคิดที่ว่าในขณะที่หน่วยประมวลผลคอยการทำงานของอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งอยู่นั้น แทนที่หน่วยประมวลผลจะคอยการทำงานของอุปกรณ์ ก็ให้หน่วย ประมวลผลไปทำงานอื่นๆ ที่มีในระบบและกลับมาทำงานเดิมต่อไปเมื่อการทำงานของอุปกรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งการทำงานลักษณะนี้เรียกว่าระบบหลายโปรแกรม
แนวคิดในการทำงานแบบหลายโปรแกรมนี้ จะมีการแบ่งส่วนของหน่วยความจำเป็นส่วนๆ เพื่อเก็บงานต่างๆ ที่มีในระบบไว้ เมื่องานใดงานหนึ่งมีการคอยหรือมีการติดต่อกับอุปกรณ์ หน่วยประมวลผลก็จะไปทำงานอื่นๆ ที่มีอยู่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานหน่วยประมวลผลได้อย่างเต็มที่ กล่าวคือหน่วยประมวลผลไม่ต้องมีการคอยงานเลย แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในหน่วยความจำจะมีการเก็บงานต่างๆ ไว้ แต่หากว่างานที่ทำอยู่มีขนาดใหญ่มาก งานอื่นๆ จะไม่ได้รับการประมวลผลเลยจนกว่างานที่หน่วยประมวลผลกำลังประมวลผลจะเสร็จสิ้นเสียก่อนซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องการทำงานอื่นๆ ต้องคอย เช่น หากโปรแกรมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นต้องนำมาแก้ไข และส่งเข้าไปต่อคิวอีกจะทำให้เสียเวลามากขึ้น
จากการที่ต้องการตอบสนองจากคอมพิวเตอร์ให้รวดเร็วขึ้น จึงได้เกิดแนวความคิดและออกแบบระบบการทำงานแบบจัดสรรเวลา ( Time Sharing ) ขึ้น โดยการจัดสรรเวลาของหน่วยประมวลผลให้บริการงานต่างๆ ที่มีอยู่พร้อมๆ กัน เช่นถ้ามีงานอยู่ในระบบ 20 งาน หน่วยประมวลผลจะแบ่งเวลามาทำงานของงานที่ 1 งานที่ 2 ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงงานที่ 20 โดยการเปลี่ยนงานซึ่งไม่จำเป็นต้องเสร็จงานใดงานหนึ่งก่อน กล่าวคือในการเปลี่ยนงานจากงานที่ 1 ไปทำงานที่ 2 นั้น งานที่ 1 อาจจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ได้ ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ทำให้ผู้ใช้บริการในระบบทั้ง 20 งานได้รับการตอบสนองหรือได้รับบริการจากคอมพิวเตอร์พร้อมๆ กันได้
ระบบปฏิบัติการแรกที่ใช้ระบบจัดสรรเวลานี้คือระบบปฏิบัติการมัลติก (MULTIC : MULTiplxed Information and Computing Service ) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งรัฐแมสชาชูเซต ( Massachusetts Institute of Technology : MIT ) และต่อมาเคน ทอมสัน ( Ken Tompson ) ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์( UNIX Operating System)ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบจัดสรรเวลาเช่นเดียวกันขึ้นมาและเป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษา รวมถึงองค์กรทางธุรกิจต่างๆ
ยุคที่ 4 ยุคคอมพิวเตอร์บุคคล และระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ช่วงปี ค.ศ. 1980 ถึง ค.ศ. 1990 จากการที่ได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์วีแอลเอสไอ ( VLSI : Very Large Scale Integrate Circuit ) ได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาได้นำมาใช้ในการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้น จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงจากเดิมเป็นอันมาก นอกจากนี้ราคาก็ต่ำลงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่หน่วยงานต่างๆ สามารถมีไว้ใช้งานได้อย่างไม่ยากนัก ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกนำไปไว้ในงานทางด้านธุรกิจ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งรูปแบบการใช้งานนั้นมีทั้งแบบการใช้งานเฉพาะตัว หรืออยู่ในรูปของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน เป็นระบบเดียวกัน และใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบร่วมกัน ซึ่งเรียกว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network )
ระบบปฏิบัติการในยุคนี้มี 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งได้แก่เอ็มเอสดอสและพีซีดอสซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเอ็มเอสดอสมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นตามวิวัฒนาการของ
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกล่าวคือเมื่อมีการพัฒนาสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถก็จะมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบปฏิบัติการตามไปด้วย และระบบปฏิบัติการอีกกลุ่มหนึ่งคือระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องตั้งแต่ระดับไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ต่อมาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการระบบปฏิบัติการกล่าวคือมีระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกว่าระบบปฏิบัติการเครือข่าย ( Network Operating System : NOS ) ซึ่งทำให้สามารถขยายขอบเขตการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้เป็นอย่างมาก ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีแนวความคิดพื้นฐานไม่ต่างจากระบบจัดการแบบเดิมเท่าใดนัก โดยจะมีการจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมการสื่อสาร และโปรแกรมที่ควบคุมการทำงาน เช่น การเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังรักษาโครงสร้าง และหน้าที่หลักๆ ของระบบปฏิบัติการเอาไว้เช่นเดิม
เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นจานเก็บข้อมูล ซึ่งนิยมนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ดังนี้
1.1ฟลอปปีดิสก์ (Floppy disk) เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมักจะเรียกว่า “ดิสก์เก็ตต์ (Diskette) หรือ แผ่นดิสก์” เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูก และไม่ยุ่งยากในการใช้งาน เนื้อแผ่นดิสก์ทำมาจากแผ่นไมลาร์และเคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็งอยู่ภายนอก ที่เปรียบเสมือเกาะป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะมีผลต่อแผ่นดิสก์ เช่น ฝุ่นละออง รอยขีดข่วน
ในอดีต แผ่นดิสก์จะมีขนาดใหญ่ ๕.๒๕ นิ้ว มีความจุน้อย ไม่สะดวกในการพกพา และได้ยกเลิกการใช้งานไปแล้ว ปัจจุบันได้นำแผ่นดิสก์ขนาด ๓.๕ นิ้วมาใช้แทน โดยมรขนาดความจุข้อมูลที่สูง ราคาถูก มีความสะดวกในการพกพาและมีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าในอดีต เนื่องจากการนำแผ่นดิสก์มาใช้งานนั้นจะต้องทำการจัดโครงสร้างของพื้นที่บนแผ่นดิสก์สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลก่อน ด้วยวิธีฟอร์แมต (Format) ก่อนที่จะสามารถนำแผ่นดิสก์ไปใช้งานได้ โดยผู้ใช้จะต้องจัดโครงสร้างของแผ่นดิสก์ด้วยตัวเอง แต่ในปัจจุบันได้สร้างความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ยิ่งขึ้น เนื่องจากบริษัทที่ทำการผลิตแผ่นดิสก์ได้ทำการฟอร์แมต (Format) แผ่นดิสก์มาตั้งแต่กระบวนการผลิต ผู้ใช้สามารถนำมาใช้ในทันที จึงผู้ใช้บางคนไม่รู้จัก ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการฟอร์แมตแผ่นดิสก์เมื่อทำการฟอร์แมตแล้วแผ่นดิสก์จะถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็น
แทรก (Trak) คือ การแบ่งพื้นที่ของแผ่นดิสก์ออกเป็นส่วนๆ ตามแนวเส้นรอบวงรอบแผ่นดิสก์
เซกเตอร์ (Sector) คือ การแบ่งพื้นที่ของแทรก แต่ละแทรกออกเป็นส่วนๆ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
การแบ่งพื้นที่ของแผ่นดิสก์ออกเป็นจำนวนกี่แทรก และกี่เซตเตอร์นั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นดิสก์
ปัจจุบันแผ่นดิสก์ที่ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูล จะมีความจุของแผ่นดิสก์ คือ 1.44 เมกะไบต์(MB) เป็นแผ่นดิสก์ชนิด DS/HD (Double Side High Density) แผ่นดิสก์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้านจะมัจำนวน 80 แทรก แต่ละแทรกมีจำนวน 18 เซกเตอร์และในแต่ละเซกเตอร์จะสามารถจุข้อมูลได้จำนวน 512 ไบต์
สามารถคำนวณความจุของแผ่นดิสก์ได้ดังนี้
= 2x80x18x512 ไบต์
(เก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน )(DS) x จำนวนแทรก x จำนวนเซกเตอร์/แทรกxจำนวนไบต์/เซกเตอร์)
=1,474,560
=1.44 เมกะไบต์
โครงสร้างฮาร์ดดิกส์ ประกอบด้วย
แพลตเตอร์(Platters) มีลักษณะเป็นจานคล้ายกับแผ่นดิกส์ทำจากแผ่นอลูมิเนียมแข็งเคลือบด้วยออกไซต์ของเหล็ก
ไซลินเดอร์(Cylinder) คือแทรกที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ในแต่ละแพลตเตอร์ออกเป็น แทรก เซกเตอร์ เช่นเดียวกับแผ่นดิสก์ เนื่องจากในแต่ละฮาร์ดดิสก์จะมีหลายแพลตเตอร์ให้หมุนไปพร้อมๆ กัน เรียกว่า “สปินเดล(spindle)”
การอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนอาร์ดดิสก์จะต้องมีตัวหัวอ่าน/เขียน ข้อมูลลงบนแพลตเตอร์(Rad/write head)หัวอ่าน/เขียนข้อมูลนั้นไม่สำผัสกับส่วนของแพลตเตอร์โดยตรงแต่จะอาศัยกระแสไฟฟ้าในการอ่าน/เขียนข้อมูล
โดยปกติฮาร์ดดิสก์จะมีจำนวน6แพลตเตอร์ในแต่ละแพลตเตอร์จะมี 2 ด้านดังนั้นจะมีทั้งหมด 12 หน้า และในส่วนล่างสุดจะไม่นำมาใช้งาน ดังนั้นหัวอ่าน/เขียน ข้อมูลจึงมีทั้งหมด 11 หัว
ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้น สามารถบรรจุฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 1 ตัว แต่เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีความจุมากเพียงพอต่อการบันทึกข้อมูล และใช้งาน จึงไม่นิยมบรรจุฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 ไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ถ้าต้องการที่จะบันทึกข้อมูลจำนวนมากเก็บไว้ แต่ไม่สามารถบันทึกเก็บไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆได้ เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก ก็สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ชนิดพกพา ในการเก็บข้อมูลได้เช่นเดียวกับหน่วยความจำแบบแฟลช
2 สื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง Optical Storage Devices
สื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน มีความจุสำหรับเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปีดิสก์ แต่น้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ การบันทึกข้อมูลลงในสื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง จะมีความแตกต่างจากวิธีการบันทึกขัอมูลลงในสื่อชนิดจากแม่เหล็ก โดยวิธีการบันทึกข้อมูลจะต้องมีอุปกรณ์ และซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนข้อมูลลงบนสื่อชนิดนี้โดยเฉพาะ การบันทึกข้อมูลจะถูกบันทึกตามแนวเส้นรอบวงแบบร่องก้นหอย ลักษณะการบันทึกข้อมูลจากข้างในออกมาด้านนอก โครงสร้างของสื่อชนิดนี้จะถูกแบ่งเป็นแทรกแบะมีส่วนย่อยของแทรกเป็นเซกเตอร์ เช่นเดียวกับสื่อเก็บข้อมูลชนิดจากแม่เหล็ก แต่ได้นำหลักการของแสงเข้ามาช่วยในการอ่าน และบันทึกข้อมูล สื่อเก็บข้อมูลแบบแสง ได้แก่
ในฮาร์ดดิสก์ก็ทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนน้ายข้อมูล จึงทำสื่อชนิดซีดีเข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูล และนอกจากที่ไดัซีดีมาใช้ในการบันทึกข้อมูลต่างๆเหล่านั้น ยังนิยมนำซีดีมาใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลประเภทสื่อมัลติมีเดีย เพลง ภาพยนต์
ข้อดีของการบันทึกข้อมูลลงบนซีดี คือ สะดวกในการพกพา การเคลื่อนย้ายข้อมูลการกำหนดมาตรฐานรูปแบบของการบันทึกข้อมูลลงในสื่อชนิดนี้มีมาตรฐานสากลที่เรียกว่า "มาตรฐานไอเอสโอ 9660" การบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ชนิดใดก็ตาม สามารถที่จะนำแผ่นซีดีนั้นไปอ่านจากเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดใดก็ได้ และนอกจากการนำไปอ่านข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ถ้าเป็นไฟล์ประเภท ภาพ หรือเสียง สามารถนำไปอ่านข้อมูลจากเครื่องเล่น DVD หรือ VCD ได้ แต่ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานการรับรองของเครื่องเล่นแต่ละประเภทและเป็นรูปแบบข้อมูลที่เครื่องเล่นสามารอ่านได้ เช่น mpeg ppe เป็นต้น ถ้าเป็นข้อมูล ข้อความ หรือโปรแกรมก็ไม่สามารถอ่านได้
นอกจากนี้บริษัทฟิลลิปส์ และบริษัทโซนี ได้ร่วมกับบริษัทโกดัก ที่มีความชำนาญด้านการบันทึกภาพแชะกล้องถ่ายรูป ผลิตซีดีที่สามารถบันทึกภาพได้แทนการใช้ฟิล์มถ่ายภาพ และบริษัทโกดักได้ผลิตกล้องถ่ายภาพที่สามารถบันทึกภาพลงบนแผ่นซีดีได้ พร้อมกับเป็นอุปกรณ์สำหรับดูภาพและสามารถพิมพ์ภาพออกมาได้โดยตรง ซีดีชนิดนี้เรียกว่า โฟโต้ซีดี
สามารถจัดแบ่งประเภทของคอมแพ็กดิสก์ออกเป็น 3ประเภท ดังนี้
1. CD Rom (Compact disc read only memory) เป็นสื่อที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เช่น ซอฟต์แวร์ชนิดต่างๆ ที่ต้องการนำมาติดตั้งเพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย เช่น โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CD -Training ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลจากซีดีรอมได้เพียงอย่างเดียว โดยไม่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำลงไปบนแผ่นซีดีรอมได้ ส่วนใหญ่ซีดีรอมจะเป็นแผ่นที่มีกระบวนการผลิตสำเร็จรูปจากโรงงานโดยใช้เครื่องจักรในการปั๊มแผ่นสำเนาขึ้นมาในคราวละเป็นจำนวนมาก และผู้ใช้ก็สามารถที่จะนำแผ่นซีดีรอมเหล่านี้ไปใช้งานได้หลายครั้ง จึงนิยมมาใช้กับงานด้านธุรกิจอัตราความเร็วของเครื่องอ่านซีดีรอมในปัจจุบันจะมีความเร็วมากกว่า 50x ความเร็ว 1x (Single Speed) จะมีอัตราเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลประมาณ 150 KBps (Kilobytes Per Secound) ดังนั้น 50x = (50 x 150) มีอัตราความเร็วเท่ากับ 7500 KBps จะมีอัตราเร็วในกาคถ่ายโอนข้อมูลช้ากว่าฮาร์ดดิสก์มาก ฮาร์ดดิสก์มีอัตราเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล ตั้งแต่ 5-15 MBps (Megabytes Per Secound)
2. CD-R (Compact disc recordable) เป็นสื่อที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลที่มีราคาถูกมักนิยมนำมาใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรอง มีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สำหรับการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R เรียกว่า “ CD Writer” นอกจาก CD Writer สามารถเขียนลงบนแผ่น CD-R แล้วยังทำหน้าที่สำหรับอุปกรณ์ในการอ่านแผ่น CD-R ได้ด้วย การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R นั้น ในแต่ละตำแหน่งที่ได้เขียนข้อมูลลงไปแล้วจะสามารถเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว และจะไม่สามารถลบ หรือแก้ไขข้อมูลเหล่านั้นได้อีก แต่ถ้าการเขียนข้อมูลลงไปยังไม่เต็มพื้นที่ของแผ่นก็จะสามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติมลงบนพื้นที่ว่างนั้นได้อีก ลักษณะการเขียนข้อมูลลงไปบนแผ่น CD-R ได้หลายครั้งนั้น เรียกว่า “มัลติเซสซัน (Multisession)” เป็นการแบ่งพื้นที่ในการบันทึกข้อมูลที่ละส่วนที่เรียกว่า เซสซัน (Session) แต่ละเซสซันประกอบด้วยหลายๆแทรก (Track) การเขียนข้อมูลลงบนCD-R แต่ละครั้งจะทำการเขียนในเซสซันที่ต่อจากเซสซันเดิมที่มีข้อมูลอยู่แล้วไม่สามารถเขียนข้อมูลทับข้อมูลในเซสซันที่ได้มีการเขียนลงไปแล้วได้
3. CD-RW (Compact disc rewritable) แผ่นชนิดนี้จะมีลักษณะรูปแบบโครงสร้างของแผ่น วิธีการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น สามารถเขียนข้อมูลได้หลายครั้งเช่นเดียวกับแผ่น CD-R แต่มีข้อดีกว่าการเขียนข้อมูลของแผ่นCD-R คือ สามารถที่จะลบข้อมูลและเขียนข้อมูลซ้ำไปบนแผ่นได้เช่นเดียวกับแผ่นดิสก์ แต่แผ่นชนิดนี้จะมีราคาสูงกว่าแผ่น CD-R เหมาะกับงานที่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่บ่อยๆ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อแผ่น เพราะแผ่น CD-RW สามารถลบข้อมูลทิ้งและเขียนข้อมูลใหม่แทนที่ได้ถึงกว่าพันครั้ง
สำหรับเครื่องอ่านและเขียนแผ่นซีดีที่เรียดว่า CD Writer นั้นสามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ทั้งแบบแผ่น ที่ได้ทั้งแบบแผ่น CD-R และ CD-RW โดยที่ตัวเครื่องจะระบุความเร็วในการเขียนและอ่านแผ่นซีดีแต่ละชนิดไว้ เช่น 48x 12x 50x หมายความว่า
- ความเร็วในการเขียนแผ่น C-R 48 เท่า
- ความเร็วในการเขียนแผ่น C-RW 12 เท่า
- ความเร็วในการอ่านแผ่นซีดีทั่วไป 50 เท่า
2.1 DVD (Digital Versatile Disc / Digital Video Disc) สื่อชนิดนี้จะเป็นสื่อที่นิยมนำมาใช้กับการบันทึกข้อมูลที่ต้องการความจุสูง จึงนิยมนำมาใช้กับการบันทึกภาพยนตร์มีความจุได้ตั้งแต่ 4.7-17 กิกะไบต์ และจะมีความจุมากขึ้นในอนาคต การจัดเก็บข้อมูลมีการแบ่งออกเป็นชั้นๆ ที่เรียกว่า “เลเยอร์ (Layer)” การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น DVD การบีบอัดข้อมูลที่เรียกว่า “MPEG-2” สำหรับในแผ่น DVD นั้น นอกจากจะสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นซีดีแล้วนั้น ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของเครื่องอ่านแผ่น DVD จะมีความเร็วที่สูงกว่าเครื่องอ่านแผ่นซีดี เพราะสามารถถ่ายโอนข้อมูลที่ประมาณ 1,350 KBps ในอัตราความเร็วที่ 1x (Single speed) นิยมนำมาใช้กับการบันทึกภาพยนตร์ ทำให้การเคลื่อนไหวกับรูปภาพเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและระบบการบันทึกเสียงลงบนแผ่น DVD จะมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าแผ่นซีดี จากคุณสมบัติที่ดีกว่าแผ่นซีดี จึงทำให้แผ่น DVD มีราคาสูงกว่าแผ่นซีดี
การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น DVD นั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ในการเขียนข้อมูล คือ DVD Writer และสามารถจัดแบ่งประเภทของแผ่นซีดี จึงทำให้แผ่น DVD มีราคาสูงกว่าแผ่นซีดี
1. DVD Rom คือ แผ่นที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตมาจากโรงงานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นแผ่นที่สามารถอ่านได้หลายๆครั้ง แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูล ลบข้อมูล และเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ภายใน DVD Rom ได้
2. DVD-R และ DVD-RW คือแผ่น DVD สามารถเขียนข้อมูลได้ตามมาตรฐาน DVD Forum จะมีความจุข้อมูลสูงสุดเท่ากับ 4.7 กิกะไบต์ ในปัจจุบัน และจะเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต ที่การเขียนข้อมูลลงบนแผ่น DVD-R นั้น จะเหมือนกับการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R คือ ในแต่ละตำแหน่งบนพื้นที่ของแผ่นจะสามารถเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว สำหรับ DVD-RW จะมีลักษณะเช่นเดียวกับแผ่น CD-R คือสามารถเขียนข้อมูลซ้ำลงบนตำแหน่งเดิมได้หลายๆครั้ง เหมือนกับแผ่นดิสก์และวิธีการเขียนข้อมูลอาจเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ โยการลบข้อมูลเก่าทิ้งทั้งหมด หรือจะเป็นการนำข้อมูลไหม้มารวมกับข้อมูลเก่าแล้วนำมาเขียนไปพร้อมๆกันก็ได้
3. DVD+R และ DVD+RW การเขียนข้อมูลลง DVD+R และ DVD+RW จะคล้ายกับวิธีการเขียนของแผ่น DVD ในกลุ่มมาตรฐานเดิม แต่จะมีความเร็วในการเขียนแผ่นมากกว่า
การอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD จะใช้เครื่องอ่าน DVD เท่านั้น โยไม่สามารถนำแผ่น DVD ไปอ่านจากเครื่องซีดีได้ แต่ถ้าเป็นแผ่นซีดีทั่วๆไป สามารถที่จะนำมาอ่านบนเครื่องอ่าน DVD ได้ ปัจจุบันการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นอกจากการใช้สำหรับการทำงานด้านต่างๆ แล้ว สามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นอุปกรณ์เพื่อความบันเทิง จึงติดตั้งเครื่องอ่าน DVD ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แทนเครื่องอ่านซีดี เพราะเครื่องอ่าน DVD นอกจากอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD ได้แล้ว สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีประเภทอื่นๆได้อีกด้วย จึงทำให้สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น สำหรับไดรว์ที่ใช้เขียนแผ่น DVD ในปัจจุบันจะสามารถเขียนได้ทั้งแบบ +RW และ –RW เรียกว่า “แบบ Dual Format”
3.สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape Device)
สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการเก็บข้อมูล (Backup) มีราคาถูก และมีความจุในการบันทึกข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก สื่อชนิดนี้มีการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าแบบโดยตรง (Direct Access) ปัจจุบันมีเทปที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลหลายชนิด เช่น แบบม้วนใช้สำหรับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์นอกจากนี้ยังมีเทปชนิด DAT หรือ Digital Audio Tape เป็นเทปที่ใช้สำหรับการบันทึกเพลง เป็นต้น ความเร็วในการอ่านของเครื่องอ่านเทปจะมีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inch Per Second) และมีอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลมีหน่วยเป็นไบต์ต่อวินาที (Byte Per Second)
หน่วยความจำแบบแฟลช เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลแทนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ เนื่องจากเป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเช่นเดียวกับหน่วยความจำแรม (RAM) และเป็นหน่วยความจำที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก สามารถพกพาง่าย นิยมนำมาใช้แทนแผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ และแม้กระทั่งแผ่นซีดีชนิดต่างๆ ใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิด มีวิธีการบันทึกข้อมูล ลบข้อมูล หรือการฟอร์แมตเหมือนกับแผ่นดิสก์ จึงทำให้สะดวกในการใช้งาน
หน่วยความจำแบบแฟลชมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive หรือ Handy Drive ที่สามารถต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์และอ่านข้อมูลได้โดยตรง และระบบปฏิบัติการ Window ที่ใช้งานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะสนับสนุนการใช้งานกับอุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์ (Driver) สำหรับติดต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ชนิดใหม่ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน
นอกจากนี้ยังมีหน่วยความจำแบบแฟลชที่อยู่ในรูปแบบของการ์ดหน่วยความจำ (Memory Card) เช่น Memory Stick, Multimedia Card, Compact Flash, Smart Media และ SD Card เป็นต้น ความจุของหน่วยความจำแบบแฟลชนี้จะมีความจุตั้งแต่ 16 เมกะไบต์ไปจนถึงวามจุที่มีหน่วยความจุเป็นกิกกะไบต์
อุปกรณ์ต่อพ่วง
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้
อุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิดมีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1.แผงพิมพ์อักขระ
เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการกดแป้นจากนั้นก็เปลี่ยนรหัสแล้วส่งไปยังประมวลผลกลาง แป้นพิมพ์โดยทั่วไปมี 50 แป้นขึ้นไปแบ่งเป็นแป้นตัวเลขและแป้นอักขระ
2.เมาส์
เป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่ได้รับข้อมูลจากการกดปุ่มข้างบนเมาส์ ทำหน้าที่คลิกปุ่มคำสั่งที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
กกกกกกกก2.1 เมาส์ทางกล
กกกกกกกก2.2 เมาส์แบบใช้แสง
3.อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถติดกับตัวโน๊ตบุ๊ค สะดวกในการพกพา ซึ่งมี 3ประเภท
กกกกกกกก3.1ลูกกลมควบคุม
กกกกกกกก3.2แท่งชี้ควบคุม
กกกกกกกก3.3แผ่นรองสัมผัส
4.ก้านควบคุม เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอ มีลักษณะเป็นก้านโผล่ออกมาจากกล่อง
5.จอสัมผัส
เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการสัมผัสโดยเมื่อมีการเลือกตำแหน่งที่ถูกเลือกจะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่แปลคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
6.อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ ที่นิยมใช้มีอยู่ 3ประเภท
กกกกกกกก6.1 เครื่องอ่านรหัสแท่ง อุปกรณ์รับเข้าที่ทำงานโดยหลักการของการสะท้อนแสง เครื่องจะส่องลำเสียงไปยังรหัสบนสินค้าจากนั้นจะเปลี่ยนรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
กกกกกกกก6.2 เครื่องกราดตรวจหรือสแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทรูปภาพและข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์โดยใช้หลักสะท้อนแสง ข้อมูลจะถูกแปลงในแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและเก็บไว้ในหน่วยความจำ
กกกกกกกก6.2กล้องดิจิทัล ทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูปทั่วไปแต่ไม่ต้องมีฟิล์มและมีคอมแพ็กแฟลช
7.เว็บแคม
เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทกล้องวีดีโอที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวผ่านเว็บไซค์แล้วปรากฎบนหน้าจอได้
8.จอภาพ มี2 ชนิด
1.จอภาพแบบซีอาร์ที มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ ทำงานโดยเทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอน โดยยิงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในจอเมื่อลำแสงวิ่งมาชนจะเกิดแสงสว่างขึ้น
2.จอภาพแบบแอลซีดี ทำงานโดยอาศัยการเบี่ยงเบนแสงตามการควบคุมทิศทางของโพราไลเซชั่นของวัตถุที่กั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและแผ่นเคลือบสารเรืองแสง ป้องแรงดันเข้าไปยังแผ่นเพลตเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า มีผลให้แสดงจากแหล่งกำเนิดสามารถผ่านทะลุกระทบกับสารเรืองแสงจนเกิดแสงสีที่ต้องการ
9. ลำโพง
เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นเสียงโดยใช้งานคู่กับการด์เสียงซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนาล็อกแล้วส่งไปยังลำโพง
10.หูฟัง
เป็นอุปกรณ์ส่งออกใช้ฟังเพลงจากคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณจากไฟฟ้าเป็นเสียง มีทั้งชนิดไร้สายและมีสาย บางรุ่นก็จะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
11. เครื่องพิมพ์
เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลงานพิมพ์ลงบนกระดาษ แบบเครื่องพิมพ์
กกกกกกกก11.1เครื่องพิมพ์แบบจุด
กกกกกกกก11.2เครื่องพิมพ์เลเซอร์
กกกกกกกก11.3เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก
กกกกกกกก11.4พล็อตเคอร์
12. โมเด็ม
เป็นการแปลงสัญญาณเพื่อให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้โดยเชื่อมต่อคอมเข้ากับคู่สายของโทรศัพท์ แล้วโมเด็มก็จะแปลงจากสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก
13.เคส
คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น
14. พาวงเวอร์ซัพพลาย
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
15.เมนบอร์ด
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
16.ซีพียู ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
17. การ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
18.แรม
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
19. ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน
20. ฟล็อปปี้ดิสก์
เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ
21.เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ ได้ดังนี้
ระบบปฏิบัติการคือ
ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน (ควบคุมการRun) ของโปรแกรมประยุกต์ ทำหน้าที่
โต้ตอบและเป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์ ควบคุมและสั่งการให้ Hardware สามารถทำงานได้ เช่น ทำหน้าที่ในการตรวจเช็คอุปกรณ์ Keyboard ขณะเปิดเครื่อง ถ้าผู้ใช้ลืมเสียบสาย Keyboard ที่ port ด้านหลังของเครื่อง ขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบแล้วไม่พบอุปกรณ์เชื่อมต่อดังกล่าว จะมีข้อความแจ้งเตือนความผิดพลาด “Keyboard Error” นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมการทำงานระหว่าง User ในการใช้โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software) ของ user กับระบบเครื่องฯ อำนวยความสะดวกในการใช้งาน และเพิ่มประสิทธิ์ภาพของระบบ
ยุคที่ 1 หลอดสูญญากาศ ยังไม่มีระบบปฏิบัติการ
ช่วงปี ค.ศ. 1945 ถึง ค.ศ. 1955 มีการผลิตเครื่องจักรในการคำนวณโดยใช้หลอดสุญญากาศ ( Vacumm Tube ) ขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่มากประกอบด้วย
หลอดสุญญากาศประมาณ 10,000 หลอด แต่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบันมาก และมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้ใช้งาน และเชี่ยวชาญกับเครื่องดังกล่าว ในการสั่งงานให้เครื่องทำงานตามโปรแกรมที่กำหนดจะต้องทำงานโดยตรงกับเครื่องโดยใช้ฮาร์ดแวร์ในการสั่งงาน หรือที่เรียกว่าปลั๊กบอร์ดซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมการทำงาน
ภาษาคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่เกิดขึ้น จึงต้องมีการควบคุมการทำงานของเครื่องโดยคนอยู่ตลอดเวลา ไม่มีส่วนของโปรแกรมควบคุมระบบในการทำงานจึงถือว่าไม่มีระบบปฏิบัติการสำหรับใช้งาน
ยุคที่ 2 ทรานซิวเตอร์กับการประมวลผลแบบแบทซ์
ช่วงปี ค.ศ. 1955 ถึง ค.ศ. 1965 ได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ขึ้นเป็นผลสำเร็จ ทำให้วงการคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์มาใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างคอมพิวเตอร์แทนการใช้หลอดสุญญากาศแบบเดิม และเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจ และในช่วงนี้เองที่มีการแบ่งกลุ่มหรือจัดสรรบุคลากรที่ทำงานทางด้านคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีหน้าที่การทำงานเฉพาะด้านอย่างชัดเจน จากเดิมที่คนเพียงคนเดียวทำงานทุกอย่างกลายเป็นแต่ละคนจะมีหน้าที่เฉพาะอย่างเช่น ผู้ออกแบบระบบ นักเขียนโปรแกรม พนักงานบันทึกข้อมูล ผู้บำรุงรักษาเครื่องเป็น
ในช่วงนี้ก็ได้มีการพัฒนาภาษาฟอร์แทรน ( FORTRAN ) ขึ้นเพื่อใช้งานซึ่งถือว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงภาษาแรก โดยใช้บัตรเจาะรูในการบันทึกข้อมูล การเขียนโปรแกรมแต่ละครั้งจะเป็นการเขียนโปรแกรมลงกระดาษก่อนแล้วจึงนำไปในห้องบันทึกเพื่อทำการเจาะบัตรตามโปรแกรมที่เขียนไว้ ต่อจากนั้นจะส่งบัตรไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล เมื่อคอมพิวเตอร์ทำงานเสร็จพนักงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ จะนำผลที่ได้ไปยังห้องแสดงผลเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมที่ตนเขียน ซึ่งจะเห็นว่ามีขั้นตอนในการทำงานมาก และเสียเวลาในการทำงานมาก และจากการที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้งานมาก
นักออกแบบระบบคอมพิวเตอร์จึงได้พยายามหาหนทางที่จะทำให้การทำงานเร็วขึ้น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบการประมวลผลแบบแบทช์ ( Batch Processing System ) ซึ่งเป็นแนวความคิดในการรวบรวมงานจำนวนหลายๆ งาน มาเก็บไว้ในเทปแม่เหล็กซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและทำงานได้เร็วกว่าบัตรเจาะรู หลังจากที่มีการรวบรวมงานลงบนเทปแล้ว ก็นำเทปดังกล่าว
(บรรจุงาน 1 งาน หรือมากกว่า 1 งาน) ไปยังห้องเครื่องซึ่งพนักงานควบคุมเครื่องจะติดตั้งเทป และเรียกใช้โปรแกรมพิเศษ (ในปัจจุบันเรียกว่าระบบปฏิบัติการ) เพื่อทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากเทปและ
นำไปประมวลผล ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน ก็จัดเก็บลงบนเทปอีกม้วนหนึ่ง หรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็ได้ และเมื่อเสร็จงานหนึ่งๆ ระบบจัดการก็จะทำการอ่านงานถัดไปโดยอัตโนมัติต่อไป และเมื่อหมดทุกงานหรือเทปหมดพนักงานควบคุมเครื่องก็เพียงแต่นำเทปม้วนใหม่ใส่เข้าไปเพื่อทำงานต่อ และนำเอาเทปที่เก็บผลลัพธ์ไปพิมพ์ที่เครื่องที่จัดไว้เพื่อการพิมพ์ผลโดยเฉพาะ ทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้ปริมาณงานมากในระยะเวลาการใช้งานเท่ากันเมื่อเทียบกับการใช้งานในรูปแบบเดิม
งานส่วนใหญ่ที่นำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 นี้ จะเป็นงานที่เกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์ และการคำนวณทางวิศวกรรม การแก้สมการทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะ
ใช้ภาษาฟอร์แทรน และ แอสเซมบลี้ ในการทำงาน ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการที่มีใช้งานในยุคนี้ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการเอฟเอ็มเอส ( FMS : Fortran Moniter System ) เป็นต้น
ยุคที่ 3 ยุคไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (Multiprogramming)
ช่วงปี ค.ศ. 1965 ถึง ค.ศ. 1980 การใช้งานคอมพิวเตอร์ได้มีการขยายขอบเขตการใช้งานไปสู่วงการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งกลุ่มของงานออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ งานทางด้านธุรกิจ และงานทางด้านวิทยาศาสตร์ และเพื่อสนองความต้องการการใช้คอมพิวเตอร์ในวงการบริษัทไอบีเอ็มจึงได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานทางด้านธุรกิจแต่ยังคงความสามารถในการคำนวณข้อมูลทาง
คณิตศาสตร์ไว้เช่นเดิม เรียกว่าซีสเต็ม 360 ( System 360 ) และได้มีการพัฒนาต่อไปเป็น 370 4304 3080 และ 3090 ในเวลาต่อมา ไอบีเอ็ม 360 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการนำเอา
เทคโนโลยีไอซีมาใช้ จึงทำให้มีความเร็วในการทำงานสูงขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความเร็วในการทำงานจะสูงเพียงใดก็ตาม แต่เนื่องจากมีการนำอุปกรณ์อื่นๆ มาเชื่อมต่อ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น จึงทำให้การทำงานที่ช้ากว่ามากจนทำให้หน่วยประมวลผลต้องคอยการทำงานของอุปกรณ์เหล่านั้น เช่นการอ่านข้อมูลจากเครื่องอ่านบัตรหรือเทปซึ่งในขณะที่อ่านข้อมูลอยู่นั้นหน่วยประมวลผลไม่ได้ทำงานอื่นเลยเนื่องจากต้องคอยให้อ่านข้อมูลเสร็จ
ก่อนหน่วยประมวลผลจึงจะทำงานต่อไปได้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้เกิดแนวความคิดที่ว่าในขณะที่หน่วยประมวลผลคอยการทำงานของอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งอยู่นั้น แทนที่หน่วยประมวลผลจะคอยการทำงานของอุปกรณ์ ก็ให้หน่วย ประมวลผลไปทำงานอื่นๆ ที่มีในระบบและกลับมาทำงานเดิมต่อไปเมื่อการทำงานของอุปกรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งการทำงานลักษณะนี้เรียกว่าระบบหลายโปรแกรม
แนวคิดในการทำงานแบบหลายโปรแกรมนี้ จะมีการแบ่งส่วนของหน่วยความจำเป็นส่วนๆ เพื่อเก็บงานต่างๆ ที่มีในระบบไว้ เมื่องานใดงานหนึ่งมีการคอยหรือมีการติดต่อกับอุปกรณ์ หน่วยประมวลผลก็จะไปทำงานอื่นๆ ที่มีอยู่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานหน่วยประมวลผลได้อย่างเต็มที่ กล่าวคือหน่วยประมวลผลไม่ต้องมีการคอยงานเลย แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในหน่วยความจำจะมีการเก็บงานต่างๆ ไว้ แต่หากว่างานที่ทำอยู่มีขนาดใหญ่มาก งานอื่นๆ จะไม่ได้รับการประมวลผลเลยจนกว่างานที่หน่วยประมวลผลกำลังประมวลผลจะเสร็จสิ้นเสียก่อนซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องการทำงานอื่นๆ ต้องคอย เช่น หากโปรแกรมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นต้องนำมาแก้ไข และส่งเข้าไปต่อคิวอีกจะทำให้เสียเวลามากขึ้น
จากการที่ต้องการตอบสนองจากคอมพิวเตอร์ให้รวดเร็วขึ้น จึงได้เกิดแนวความคิดและออกแบบระบบการทำงานแบบจัดสรรเวลา ( Time Sharing ) ขึ้น โดยการจัดสรรเวลาของหน่วยประมวลผลให้บริการงานต่างๆ ที่มีอยู่พร้อมๆ กัน เช่นถ้ามีงานอยู่ในระบบ 20 งาน หน่วยประมวลผลจะแบ่งเวลามาทำงานของงานที่ 1 งานที่ 2 ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงงานที่ 20 โดยการเปลี่ยนงานซึ่งไม่จำเป็นต้องเสร็จงานใดงานหนึ่งก่อน กล่าวคือในการเปลี่ยนงานจากงานที่ 1 ไปทำงานที่ 2 นั้น งานที่ 1 อาจจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ได้ ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ทำให้ผู้ใช้บริการในระบบทั้ง 20 งานได้รับการตอบสนองหรือได้รับบริการจากคอมพิวเตอร์พร้อมๆ กันได้
ระบบปฏิบัติการแรกที่ใช้ระบบจัดสรรเวลานี้คือระบบปฏิบัติการมัลติก (MULTIC : MULTiplxed Information and Computing Service ) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งรัฐแมสชาชูเซต ( Massachusetts Institute of Technology : MIT ) และต่อมาเคน ทอมสัน ( Ken Tompson ) ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์( UNIX Operating System)ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบจัดสรรเวลาเช่นเดียวกันขึ้นมาและเป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษา รวมถึงองค์กรทางธุรกิจต่างๆ
ยุคที่ 4 ยุคคอมพิวเตอร์บุคคล และระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ช่วงปี ค.ศ. 1980 ถึง ค.ศ. 1990 จากการที่ได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์วีแอลเอสไอ ( VLSI : Very Large Scale Integrate Circuit ) ได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาได้นำมาใช้ในการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้น จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงจากเดิมเป็นอันมาก นอกจากนี้ราคาก็ต่ำลงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่หน่วยงานต่างๆ สามารถมีไว้ใช้งานได้อย่างไม่ยากนัก ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกนำไปไว้ในงานทางด้านธุรกิจ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งรูปแบบการใช้งานนั้นมีทั้งแบบการใช้งานเฉพาะตัว หรืออยู่ในรูปของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน เป็นระบบเดียวกัน และใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบร่วมกัน ซึ่งเรียกว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network )
ระบบปฏิบัติการในยุคนี้มี 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งได้แก่เอ็มเอสดอสและพีซีดอสซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเอ็มเอสดอสมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นตามวิวัฒนาการของ
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกล่าวคือเมื่อมีการพัฒนาสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถก็จะมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบปฏิบัติการตามไปด้วย และระบบปฏิบัติการอีกกลุ่มหนึ่งคือระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องตั้งแต่ระดับไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ต่อมาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการระบบปฏิบัติการกล่าวคือมีระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกว่าระบบปฏิบัติการเครือข่าย ( Network Operating System : NOS ) ซึ่งทำให้สามารถขยายขอบเขตการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้เป็นอย่างมาก ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีแนวความคิดพื้นฐานไม่ต่างจากระบบจัดการแบบเดิมเท่าใดนัก โดยจะมีการจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมการสื่อสาร และโปรแกรมที่ควบคุมการทำงาน เช่น การเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังรักษาโครงสร้าง และหน้าที่หลักๆ ของระบบปฏิบัติการเอาไว้เช่นเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น